หน้าแรก ยาสมุนไพรไทย ขมิ้นชัน สมุนไพรโบราณที่คนไทยนำมาใช้เป็นยารักษาโรคและอาการเจ็บปวดต่างๆ

ขมิ้นชัน สมุนไพรโบราณที่คนไทยนำมาใช้เป็นยารักษาโรคและอาการเจ็บปวดต่างๆ

389
0

ขมิ้นชัน สมุนไพรที่เต็มไปด้วยคุณประโยชน์หลายด้าน หาซื้อได้ไม่ยาก สีสันสะดุดตา มีสรรพคุณทางยาที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าเหตุใดขมิ้นชันจึงเป็นที่นิยมในการรักษาอาการป่วยๆ หลายชนิด แล้วประโยชน์ที่ได้จากสมุนไพรชนิดนี้มีอะไรบ้าง รวมถึงวิธีการใช้ และข้อห้ามข้อควรระวังต่างๆ

ทำความรู้จักขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน เป็นไม้ล้มลุก ซึ่งนิยมปลูกในประเทศแถบเขตร้อนและเขตอบอุ่นที่มีความชื้นโดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความสูงของต้นจะอยู่ที่ประมาณ 50-70 เซนติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองเข้ม หรือสีเหลืองส้ม มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ชอบขึ้นในที่ชื้น ใบเดี่ยวมีลักษณะเป็นรูปหอก ส่วนดอกเป็นช่อสีเหลืองอ่อน ตัวใบและตัวดอกจะแทงออกจากเหง้าใต้ดิน

ขมิ้นชันมีชื่อสามัญว่า “เทอร์เมอริก (Turmeric)” ซึ่งแปลในภาษาสันสกฤตได้ว่า “สีเหลือง” และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma longa L. ถือเป็นพืชอยู่ในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) มีชื่อท้องถิ่นว่า ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หรือตายอ

ในส่วนของการปรุงอาหาร ขมิ้นชันนิยมใช้เป็นเครื่องเทศสำหรับแต่งรสและสีผสมอาหาร โดยถูกใช้ทั้งรูปแบบผงและแบบเหง้า ซึ่งอาหารที่นิยมใส่ขมิ้นชัน ได้แก่ แกงเหลือง ข้าวหมกไก่ แกงกะหรี่ ขนมเบื้องญวน ไก่ทอด แกงไตปลา มัสตาร์ด เนย มาการีน อีกทั้งยังใช้ทำเป็นเครื่องสำอาง หรือเป็นผงขัดผิว

สรรพคุณทางยาของขมิ้นชัน

ขมิ้นชันมีสารสำคัญ 2 กลุ่มที่เป็นสารออกฤทธิ์และเป็นยาทางการแพทย์ได้ ได้แก่

1.กลุ่มที่ให้สารเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) มีสารออกฤทธิ์หลัก คือ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เชื้อจุลชีพ สารแบคทีเรียปรสิต ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง บำรุงและรักษาตับจากสารพิษ
2.กลุ่มน้ำมันหอมระเหยโมโนเทอร์ปีน (Monoterpene) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดี อุดมไปเกลือแร่และวิตามิน ช่วยบำรุงผิวพรณให้ผ่องใสขึ้น

นอกจากสารทั้ง 2 กลุ่มนี้แล้ว แพทย์ยังนิยมใช้ผงขมิ้นชันเป็นส่วนผสมในยารักษาโรคต่างๆ เช่น รักษาโรคข้ออักเสบ ยาลดกรด ยาขับลม ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้ท้องอืดหรือท้องเฟ้อ ยาแก้อักเสบ ยาแก้โรคผิวหนัง

สรรพคุณทางยาของขมิ้นชันในตำราไทย

ขมิ้นชันเป็นอีกหนึ่งในสมุนไพรโบราณที่คนไทยนำมาใช้เป็นยารักษาโรคและอาการเจ็บปวดต่างๆ มาอย่างยาวนาน ซึ่งตามตำรายาไทยมักจะใช้ส่วนเหล้านำมาทำเป็นยารักษา โดยส่วนนี้จะมีรสฝาดหวานเอียน แต่มีสรรพคุณรักษาได้ดี ซึ่งขมิ้นชันในตำราไทยจะแบ่งส่วนการรักษาเป็น 2 แบบ

  • แบบใช้ภายในร่างกาย เช่น

– ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาบำรุงธาตุ
– แก้ท้องอืดเฟ้อ อาการแน่นหรือจุกเสียดท้อง
– บรรเทาเวลาปวดประจำเดือน หรือเป็นยารักษาเมื่อประจำเดือนมาไม่ปกติ
– แก้อาการดีซ่าน
– แก้อาการวิงเวียนศีรษะ
– รักษาโรคหวัด ลดไข้ แก้เสมหะ
– ต้านเชื้อวัณโรค
– แก้อาการท้องเสีย
– ป้องกันโรคหนองใน
– เป็นยารักษาเมื่อโรคออกทางปัสสาวะและทวารหนัก

  • แบบใช้ภายนอกร่างกาย เช่น

-ช่วยลดอาการฟกช้ำบวม
– บรรเทาอาการปวดไหล่ แขน ข้อต่อ อาการบวมช้ำ
– ช่วยสมานแผลสดและแผลถลอก
– ผสมเป็นยานวดคลายเส้นแก้เคล็ดขัดยอกได้
– แก้น้ำกัดเท้า
– แก้โรคเกี่ยวกับผิวหนัง เช่น โรคชันนะตุ โรคกลากเกลื้อน มีผื่นคัน เป็นผี
– สมานแผลและห้ามเลือดได้ เช่น แผลพุพอง แผลอักเสบจากแมงสัตว์กัดต่อย
– ใช้บำรุงรักษาผิวให้ดูดียิ่งขึ้น