“สะเดา” กับข้อเสีย โทษ ผลกระทบ ผลข้างเคียงแบบไม่คาดคิดมาก่อน
สะเดา เป็นพืชสมุนไพรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื่องจากสามารถนำทุกส่วนของต้นมาใช้ประโยชน์ได้ ทั้งใบ ดอก เมล็ด ผล ราก และเปลือก มีการเปิดเผยการใช้ประโยชน์ทางยาของต้นไม้ชนิดนี้ในอดีต โดยดอกสะเดาถูกนำมาใช้รักษาโรคทางเดินน้ำดี ใบสะเดาใช้รักษาแผลเปื่อย และเปลือกสะเดาใช้รักษาโรคสมอง
สะเดา เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาหลากหลาย สามารถนำมาใช้รักษาและป้องกันโรคได้หลากหลายชนิด โดยมีคุณสมบัติเด่นมากมายทั้งดีท็อกซ์ และบำรุงเลือด รักษาโรคผิวหนัง เช่นกลาก เกลื้อน ต้านเชื้อยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา รวมทั้งยังบรรเทาอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ...
22 สมุนไพรไทย ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์!
กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศรายชื่อ สมุนไพรไทย จำนวน 22 ชนิด อยู่ใน “ภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์”
เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ที่เติบโตช้า บางชนิดจำเป็นต้องใช้ทั้งต้นและราก บางชนิดนำมาใช้บ่อยจนโตไม่ทันใช้งาน ซึ่งมีสมุนไพร 7 ชนิดที่จะประกาศคุ้มครอง และเป็นสมุนไพรที่ต้องควบคุม ได้แก่ ถั่วดินโคก เทพทาโร มะตูมนิ่ม มะหาด เร่ว หัวร้อยรู และกระวาน โดยหากใครมี สมุนไพรไทย 7...
ยก 4 สมุนไพรไทย มีผลวิจัยต้านโรคซึมเศร้า
ขมิ้นชัน มีการศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยซึมเศร้า เปรียบเทียบการใช้สารสกัดขมิ้นชัน 500 มก. หลังอาหารเช้าและเย็น และยาต้านซึมเศร้า (Fluoxetine 20 mg) เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เปอร์เซ็นต์การตอบสนองผลการรักษาของผู้ป่วย ยาต้านซึมเศร้า 64.7% สารสกัดขมิ้นชัน 62.5% และเมื่อใช้ร่วมกันทั้ง ยาต้านซึมเศร้า และสารสกัดขมิ้นชัน จะให้ผลตอบสนอง 77.8%
ปัจจุบันขมิ้นชันจะมีทั้งแบบสกัดและแบบผงแห้ง โดยขนาดการรับประทานแบบผงแห้งคือ...
รอบรู้เรื่องกระชาย สมุนไพรไทยใกล้ตัวมีประโยชน์มากกว่าที่คิด !
หากกล่าวถึง "กระชาย" สมุนไพรเลื่องชื่อของไทยนั้น เชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินคุ้นหูกันเป็นอย่างดีอยู่แล้วถึงประโยชน์และสรรพคุณนานัปประการ ตั้งแต่ส่วนของราก เหง้า ลำต้น ใบ ไปจนถึงดอก ที่ช่วยรักษาอาการของโรคต่างๆ รวมถึงดีต่อสุขภาพร่างกายหากนำมาใช้หรือรับประทานอย่างถูกวิธี ว่าแต่ประโยชน์ของกระชายที่ว่านั้นมีอะไรบ้าง วันนี้เราขอถือโอกาสมาบอกเล่าให้ฟัง
รอบรู้เรื่องกระชาย สมุนไพรไทยใกล้ตัวมีประโยชน์มากกว่าที่คิด !
รอบรู้เรื่องกระชาย
ก่อนอื่นขอเกริ่นก่อนว่า กระชายเป็นพืชสมุนไพรที่มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลืองหรือกระชายขาว กระชายมีรสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมระเหยอ่อนๆ...
10 สมุนไพรไทย ประโยชน์และอันตรายที่ควรรู้ก่อนกิน
สมุนไพร คือ ยาที่ได้มาจากพืช แร่ธาตุ สัตว์ ที่สามารถนำไปใช้เพื่อบำรุงร่างกายและรักษาโรค โดยอาจอยู่ในรูปแบบของอาหารยาแผนโบราณ หรืออาหารเสริม ที่อาจสามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบ ชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เสริมสุขภาพหัวใจ อาจลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง สมุนไพรแต่ละชนิดมีคุณประโยชน์ วิธีการใช้ และปริมาณในการใช้ที่แตกต่างกัน หากใช้อย่างผิดวิธีหรือใช้ในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
ประโยชน์ของสมุนไพร
สมุนไพรแต่ละชนิดมีสรรพคุณที่แตกต่างกัน ทั้งอาจช่วยรักษาโรค บรรเทาอาการ หรือใช้สำหรับบำรุงร่างกาย สมุนไพรที่นิยมใช้ในครัวเรือน ดังนี้
1.ขมิ้นชัน เป็นเครื่องเทศที่เป็นแหล่งของเคอร์คูมิน (Curcumin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยบรรเทาอาการอักเสบ...
“ตรีผลา” สมุนไพรเพิ่มภูมิต้านทาน เสริมภูมิคุ้มกัน ต้านไวรัส แก้โรคในฤดูร้อน
“ตรีผลา” เป็นตํารับยาที่ใช้ในทางอายุรเวทของอินเดียและการแพทย์แผนไทยมานับพันปี ความหมายของ “ตรีผลา” แปลว่า ผลไม้สามอย่าง มาจากคําว่า “ตรี” ซึ่งแปลว่า สาม และคําว่า “ผลา” แปลว่า ผลไม้ ประกอบด้วย
มะขามป้อม(Phyllanthus emblica)
สมอไทย (Terminalia chebula)
สมอพิเภก (Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb.)
สรรพคุณดี ๆ ของตรีผลา
รักษาสมดุลของระบบย่อยอาหาร...
ผักเป็ด สรรพคุณและประโยชน์ของผักเป็ดขาว 28 ข้อ !
ชื่อสามัญ Sessile joyweedชื่อวิทยาศาสตร์ Alternanthera sessilis (L.) R.Br. ex DC.ส่วนอีกตำราระบุว่าเป็นชนิด Alternanthera paronychioides A.St.-Hil จัดอยู่ในวงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE)ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักเป็ดแดง ผักเป็ดขาว (ภาคกลาง), ผักเปี๋ยวแดง (ภาคเหนือ), ผักเป็ด ผักเป็ดไทย (ไทย),...
สมุนไพรชื่อแปลก “ตดหมูตดหมา” ไม้ป่ากินได้
สมุนไพรชื่อแปลก “ตดหมูตดหมา หรือ ต้นพาโหม” แค่ชื่อฟังแล้ว หลายคนไม่อยากเข้าใกล้ เป็นสมุนไพรที่อยู่คู่คนไทยมานาน เป็นผักที่คนทั่วทุกภาครับประทานแกล้มในมื้ออาหาร แค่ชื่อก็แปลกแล้วแต่ถ้าได้รู้จักสรรพคุณต้องถึงกับจึ้งกันแน่
เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไป ในป่าธรรมชาติและบริเวณในสวน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและเพาะเลี้ยงต้นอ่อน นิยมปลูกขึ้นเลื้อยตามรั้วบ้าน เพื่อเก็บยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานเป็นผักแกล้มลาบ ยำ พล่า ก้อย หรือน้ำพริก มีบางท้องถิ่นเห็นเก็บมาวางขายตลาดสดกันก็มี
ภก.ณัฐดนัย มุสิกวงศ์ ได้เขียนบทความตีพิมพ์ลงในคอลัมน์พืชใกล้ตัว ของอภัยภูเบศรสาร ฉบับเดือนกรกฎาคม...
“ชะพลู” พืชผักสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือดได้ แต่”ผู้ป่วยโรคไต”ต้องระวัง
“ชะพลู” เป็นพืชพื้นบ้านที่แพร่หลาย พบในทุกจังหวัดของประเทศไทย เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุสืบต่อได้หลายปี ชอบพื้นที่ลุ่มต่ำ ชื้นแฉะ ที่ที่มีน้ำดี ดินดี จะเจริญเติบโตได้ดีมาก ใบจะโต ยอดจะอวบอ้วน เป็นพรรณไม้ที่มีต้นตั้ง บางครั้งจะพบต้นแบบเถาเลื้อย ระบบรากหากินผิวดิน ถ้าเถาเลื้อยไปพบที่เหมาะ ก็จะออกรากตามข้อ และแตกต้นขึ้นใหม่ แพร่ขยายต้นไปเรื่อยๆ เมื่อต้องการจะย้ายที่ปลูก ก็สามารถถอนดึงต้นติดรากไปปลูกได้เลย
ชะพลู เป็นพืชในวงศ์ ไปเปอราซีอี (PIPERACEAE)ชื่อวิทยาศาสตร์ :...
“เพชรสังฆาต” สมุนไพรดีมีประโยชน์ แต่มีข้อควรระวังที่อันตราย
เพชรสังฆาตเพชรสังฆาต ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cissus quadrangularis L. จัดอยู่ในวงศ์องุ่น (VITACEAE) สมุนไพรเพชรสังฆาต
ชื่อท้องถิ่น : สันชะควด (กรุงเทพ), ขั่นข้อ (ราชบุรี), สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์) เป็นต้น
ลักษณะของเพชรสังฆาต
ต้นเพชรสังฆาต เป็นไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยมเป็นข้อต่อกันใบเพชรสังฆาต ใบเป็นใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยม แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ออกเรียงสลับตามข้อต้น ปลายใบมน...