Home Uncategorized ว่านชักมดลูก สมุนไพรสำหรับผู้หญิง ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ

ว่านชักมดลูก สมุนไพรสำหรับผู้หญิง ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ

0
0

ชื่อสมุนไพร ว่านชักมดลูก
ชื่อท้องถิ่น/ชื่ออื่นๆว่านหมาวัด (อุบลราชธานี), ว่านทรหด, ว่านหำหด, ว่านพญาหัวศึก, ว่านการบูรเลือด
ชื่อวิทยาศาสตร์ ได้จากพืช 2 ชนิด Curcuma xanthorrhiza Roxb, Curcuma comosa Roxb
ชื่อวงศ์Zingiberaceae

ว่านชักมดลูก

เป็นพืชในสกุล ขมิ้น (Curcuma) ที่มีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพร สรรพคุณก็สอดคล้องตามชื่อ คือ ช่วยชักมดลูกให้เข้าอู่หลังคลอดบุตร แก้มดลูกพิการ แก้ปวดมดลูก ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน ตกขาว ขับน้ำคาวปลา เหง้าของว่านชักมดลูกมีสารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง (estrogen) จึงมีส่วนช่วยในการรักษาโรคสตรีหลายชนิด

ถิ่นกำเนิดว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูกชนิด xanthorrhiza มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเกาะบาหลี เกาะชวา กระจายพันธุ์มาจนถึงมาเลเซียไทย และอินเดีย ส่วนชนิด comosa นั้น เป็นพืชพื้นถิ่นของไทย และนิยมปลูกกันโดยทั่วไป แหล่งที่ปลูกที่มีชื่อเสียง คือ ในจังหวัดเลยและจังหวัดเพชรบูรณ์ และในธรรมชาติพื้นที่ที่พบ มากในป่าเบญจพรรณทั่วไป โดยชนิด comosa ของไทยนั้น สามารถแยกชนิดได้เป็น ว่านชักมดลูกตัวเมีย (Curcuma comosa) และว่านชักมดลูกตัวผู้(Curcuma latifolia)

ลักษณะทั่วไปว่านชักมดลูก

  • เหง้า/หัวว่านชักมดลูก/ว่านทรหด จัดเป็นพืชล้มลุกปีเดียว อยู่ในกลุ่มของขิง ข่า โดยมีส่วนเหง้าหรือหัวหรือลำต้นแท้อยู่ใต้ดิน เหง้ามีสีส้มอ่อนหรือส้มออกแดง
  • ใบ ใบว่านชักมดลูก/ว่านทรหด มีลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะรียาว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 15–20 ซม. ยาวประมาณ 40–100 ซม. ใบมองเห็นเป็นแถบยาวของเส้นใบอย่างชัดเจน แถบเส้นใบกว้างประมาณ 0.5 – 1 ซม. โดยต้นที่ใบมีเส้นกลางใบเป็นสีม่วงแดง เรียกว่า ต้นว่านชักมดลูกตัวผู้ ส่วนต้นที่ใบมีสีเส้นกลางใบเป็นสีเขียว เรียกว่า ว่านชักมดลูกตัวเมีย
  • ดอก ดอกว่านชักมดลูก/ว่านทรหด มีลักษณะเป็นช่อ ไม่รวมกันเป็นกระจุก แยกออกในทิศที่แตกต่างกันบนก้านดอกประกอบด้วยก้านช่อดอกยาวประมาณ 15–20 ซม. มีใบประดับสีชมพูอ่อน กลีบรองดอกสีแดงสด และเมื่อเจริญเต็มที่จะมีสีเหลืองคล้ายดอกขมิ้นชัน

ว่านชักมดลูก/ว่านทรหด จะเริ่มแทงใบในช่วงต้นฝน มีนาคม–เมษายน และจะเจริญเติบโตจนถึงฤดูหนาว เดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม ต้นจะเริ่มแก่เหลือง และเหี่ยวพับลงจนเหลือแต่ส่วนหัวที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งจะนิยมเก็บหัวมาใช้ประโยชน์ในช่วงนี้จนถึงก่อนช่วงที่แทงใบใหม่ ในการเก็บผลผลิตนั้น ต้องเก็บในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูแล้งโดยสังเกตได้จากหากว่านชักมดลูกมีใบเหี่ยวแห้งหมดแล้วก็สามารถเก็บเกี่ยวได้

พืชทั้ง 2 ชนิด มีลักษณะคล้ายกันมาก คือ เป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 1-2 มีเหง้าใต้ดินขนาดใหญ่ ค่อนข้างกลม เนื้อภายในสีเหลือง ถ้าเป็นชนิด comosa จะเป็นสีเหลืองอ่อน แต่ถ้าเป็นชนิด xanthorrhiza จะเป็นสีเหลืองส้ม มีกลิ่นฉุนร้อน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวเป็นกระจุกใกล้ราก ใบรูปขอบขนานแกมรี ถ้าเป็นชนิด xanthorrhiza ด้านล่างใบมีเส้นกลางใบสีม่วง และมีขนที่ท้องใบ ก้านใบสั้น แต่ถ้าเป็นชนิด comosa ด้านล่างใบมีเส้นกลางใบสีเขียวตลอด ไม่มีขน และมีก้านใบยาวกว่า ดอกออกเป็นช่อแทงจากพื้นดินสีชมพู เกสรตัวผู้เป็นหมันสีขาว ใบประดับที่ไม่ได้รองรับดอกย่อยมีสีม่วง ส่วนใบประดับที่รองรับดอกย่อยมีสีเขียวอ่อน

ประโยชน์และสรรพคุณว่านชักมดลูก

  1. รักษาเลือดออกจากมดลูกหลังคลอด
  2. รักษามดลูกอักเสบ
  3. ช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่หรือเข้าที่
  4. ช่วยมดลูกฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
  5. แก้ตับอักเสบ
  6. แก้ปวดท้อง
  7. ช่วยขับน้ำดี
  8. รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
  9. แก้ปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน
  10. แก้ตกขาว
  11. ขับน้ำคาวปลา
  12. ปัสสาวะกะปริดกะปรอย
  13. แก้ธาตุพิการ
  14. แก้อาหารไม่ย่อย
  15. แก้ริดสีดวงทวาร
  16. รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
  17. ช่วยป้องกันมะเร็งชนิดต่างๆ
  18. ลดอาการปวดบวมของแผล
  19. ช่วยต้านการอักเสบของแผล
  20. ใช้บดทาแผล หรือน้ำต้มล้างทาแผล
  21. แก้เจ็บขา ปวดขา
  22. ช่วยกระตุ้นกระบวนการสร้างเซลล์ใหม่
  23. ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
  24. ช่วยทำให้ผิวแลดูสดใส
  25. ช่วยลดคอเลสเตอรอล
  26. ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก
  27. แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง ในการรับประทาน

การรับประทานว่านชักมดลูก ควรทานในปริมาณที่เหมาะสมตามที่บอก ไม่เช่นนั้น อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการตกขาว สามารถทานต่อได้เลย เพราะถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้ารู้สึกวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ มีผื่นขึ้น หรือ ปวดหน้าอก ฯลฯ แนะนำให้หยุดรับประทานสักพักหนึ่ง หรือ ลดตัวยาลงครึ่งหนึ่ง ก็จะช่วยได้ โดยข้อควรระวัง ในการรับประทานว่านชักมดลูกนั้น มีผู้ที่ควรรับประทานและไม่ควรรับประทานดังต่อไปนี้

  • ผู้หญิงที่มีอาการวัยทอง หมดประจำเดือน หรือเป็นผู้สูงอายุ คือ ผู้ที่ควรรับประทานว่านชักมดลูกมากที่สุด
  • เด็กหญิง ไม่ควรรับประทานเด็ดขาด เพราะในเด็กหญิง อาจไประงับการเจริญเติบโตของเด็กได้
  • วัยรุ่น หรือ วัยเจริญพันธุ์ ก็ไม่ควรรับประทาน เพราะอาจจะไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศและระบบประจำเดือนได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี ไม่ควรรับประทาน เพราะว่านชักมดลูกจะกระตุ้นให้เกิดการหลั่งน้ำดีมากขึ้น อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
  • ผู้ที่มีซีสต์ หรือ เนื้องอกในร่างกาย ก็ไม่ควรรับประทาน เพราะอาจทำให้เกิดการพัฒนาของเซลล์ จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้

ว่านชักมดลูกเป็นอีกหนึ่งสมุนไพร ที่บำรุงร่างกายผู้หญิงได้ดีโดยเฉพาะการช่วยให้มดลูกให้เข้าอู่ เหมาะกับผู้ที่มีอาการมดลูกต่ำ ไม่เข้าที่หลังคลอดบุตร นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติช่วยรักษาอาการวัยทอง ตลอดจนชะลอการหมดประจำเดือนก่อนวัย ทำให้เหมาะอย่างมากกับผู้หญิงมีอายุ ที่ไม่มีประจำเดือน หรือ กำลังเข้าสู่วัยทองแล้ว ดังนั้น หากคุณเป็นคุณแม่มือใหม่ หรือ อยู่ในช่วงวัยกลางคนที่เริ่มมีปัญหาสุขภาพ แล้วอยากจะหาตัวช่วยที่จะทำให้รู้สึกสบายตัวขึ้น ปรับอารมณ์ให้สมดุล ตลอดจนช่วยลดอาการหงุดหงิดให้น้อยลงแล้วละก็ แนะนำให้หาซื้ออาหารเสริมที่มีส่วนผสมของว่านชักมดลูกมารับประทาน เชื่อว่า จะทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขมากขึ้นได้แน่นอน

ที่มา : disthai.com

NO COMMENTS

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here