Home รอบรู้สมุนไพร สาบเสือ วัชพืชมหัศจรรย์ ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ

สาบเสือ วัชพืชมหัศจรรย์ ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ

0
1

ชื่อสมุนไพรสาบเสือ
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น หมาหลง, ผักคราด, บ้านร้าง, ดงร้าง, หญ้าเสือหมอบ, ฝรั่งเหาะ, หญ้าพรงศิริไอศวรรย์ (ภาคกลาง), หญ้าเมืองวาย, หญ้าตง (ภาคเหนือ), หญ้าลืมเมือง, หญ้าเลาฮ้าง, หญ้าเหม็น, มุ่งกระต่าย (ภาคอีสาน), รำเคย, ยี่สุ่นเถื่อน, ต้นขี้ไก่ (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์Chromolaena odorata (L.) R.M.King&H.Rob.

ถิ่นกำเนิดสาบเสือ
สาบเสือจัดเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกากลาง จากนั้นได้แพร่กระจายไปทั่วทวีปอเมริกาตั้งแต่ทางตอนใต้ของฟลอริดาจนถึงพื้นที่ตอนเหนือของอาร์เจนตินา สำหรับในทวีปเอเชียสาบเสือถูกนำเข้ามาสู่ประเทศอินเดียโดยการปะปนของเมล็ดสาบเสือ ติดมากับเรือสินค้าประมาณปี ค.ศ.1840 จากนั้น จึงมีการแพร่กระจายสู่อ่าวเบงกอล พม่า และไทย จนในปัจจุบันมีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้างทั่วทั้งเขตร้อนของทวีปเอเชีย ส่วนในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศบริเวณที่รกร้างว่างเปล่า และตามชายป่าต่างๆ

ประโยชน์และสรรพคุณสาบเสือ

  • ใช้แก้ผมหงอก ทำให้ผมดกดำ
  • ใช้กำจัดปลวก ไล่แมลง และฆ่าแมลง
  • แก้พิษน้ำเหลือง
  • ใช้ถอนพิษ
  • แก้อักเสบ
  • แก้ตาฟาง
  • แก้ตาแฉะ
  • แก้ริดสีดวงทวารหนัก
  • ใช้รักษาแผลสดแผลเปื่อย
  • ช่วยสมานแผล
  • ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
  • แก้บวม
  • แก้หนอง
  • แก้เจ็บคอ
  • แก้กระหายน้ำ
  • ใช้ชูกำลัง
  • แก้ไข้
  • แก้ร้อนใน
  • ใช้บำรุงหัวใจ
  • ใช้ห้ามเลือด
  • ใช้ชูกำลัง
  • แก้อ่อนเพลีย
  • แก้ปัสสาวะขัด

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ แก้บวม โดยนำลำต้นสาบเสือ มาต้มกับน้ำดื่ม หรือ นำลำต้นสับตากแห้ง ชงดื่มเป็นชาก็ได้ ใช้ดูดหนอง แผลเรื้อรัง โดยใช้ลำต้นสดมาตำพอกบริเวณที่เป็น ใช้แก้เจ็บคอ ถอนพิษอักเสบ แก้พิษน้ำเหลือง แก้ตาฟาง แก้ตาแฉะ แก้ริดสีดวงทวารหนัก โดยนำใบมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้ห้ามเลือด ทำให้เลือดแข็งตัว ใช้รักษาแผลสด แผลเปื่อย สมานแผล โดยนำในสดมาตำพอกบริเวณที่เป็น ใช้แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ใช้ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย ใช้บำรุงหัวใจ โดยนำดอกแห้งมาต้มกับน้ำดื่ม มาตำแล้วใช้หมักผมเป็นประจำใช้แก้ผมหงอก ทำให้ผมดกดำ มาใช้ตำผสมกับน้ำฉีดกำจัดปลวก ไล่แมลง และฆ่าแมลง

ลักษณะทั่วไปของสาบเสือ

สาบเสือ จัดเป็นวัชพืชประเภทไม้ล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามากตั้งแต่ระดับต่ำจนดูเหมือนทรงพุ่ม กิ่งก้านและลำต้น ค่อนข้างเป็นเหลี่ยม เมื่อยังอ่อนมีสีเขียว แต่หากแก่จะมีสีน้ำตาล เปราะหักง่ายและปกคลุมไปด้วยขนนุ่มอ่อนๆ ใบ เป็นใบเดี่ยวตรงข้ามเป็นคู่บริเวณข้อกิ่ง หรือ ข้อลำต้น ใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมรูปหอก ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ โคนใบสอบเป็นรูปลิ่มปลายใบ 3 เส้นแหลม มีเส้นใบมองเห็นได้ชัดเจน ใบด้านบนและด้านล่าง มีขนปกคลุม ใบมีสีเขียวสด กว้าง 1-2.5 นิ้ว ยาว 2-4 นิ้ว และมีก้านใบยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ดอก ออกเป็นช่อกระจุกแบบซี่ร่ม บริเวณส่วนยอดของต้น ลักษณะของดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ บริเวณโคนกลีบดอก เชื่อมติดกันเป็นหลอด และตรงปลายจะแยกออกเป็น 5 กลีบ ใน 1 ช่อดอก จะมีช่อดอกย่อย 20-25 ดอก ดอกวงนอนเป็นเส้นสีน้ำเงินอมม่วงอ่อนๆ หรือ สีขาวม่วง และจะบานก่อนดอกวงใน ผล เป็นผลแห้งขนาดเล็ก มีรูปร่างคล้ายรูปห้าเหลี่ยม เรียวยาว ประมาณ 4-5 มิลลิเมตร มีสีน้ำตาล หรือ สีดำ และมีหนามแข็งบนเส้นของผล ส่วนปลายผลมีขนสีขาว เพื่อช่วยพยุงให้ปลิวตามลม

การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของสาบเสือ

มีรายงานการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดเอทานอลจากใบสาบเสือในหนูเมาส์ พบว่า สารสกัดใบสาบเสือ ไม่มีความเป็นพิษพลัน โดยมีค่า LD50 มากกว่า 20 กรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ซึ่งความเข้มข้นของสารสกัดที่ทดสอบ (1-20 กรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม)) ซึ่งไม่ทำให้เกิดการตายของหนูทดลองแต่อย่างใด

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาด้านความเป็นพิษของสาบเสือจะระบุว่าไม่มีความเป็นพิษแต่อย่างไรก็ตาม ในการใช้ส่วนต่างๆ ของสาบเสือ ป็นยาสมุนไพร โดยเฉพาะการใช้รับประทานก็ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกับการใช้สมุนไพร ชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาด และปริมาณที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้

ที่มา : disthai.com

NO COMMENTS

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here